อิฐ TAN BRICK ดียังไง? เปรียบเทียบอิฐแต่ละประเภท
top of page

อิฐ TAN BRICK ดียังไง? เปรียบเทียบอิฐแต่ละประเภท

การสร้างบ้านด้วยวิธีก่ออิฐฉาบปูนนั้น โดยทั่วไปมีอิฐให้เลือกอยู่ 3 กลุ่มหลักๆด้วยกันคือ อิฐมอญ, อิฐมวลเบา และอิฐบล็อค แต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียต่างกันไป ซึ่งเราสามารถนำคุณสมบัติในแต่ละแง่มาเปรียบเทียบกันให้เห็นชัดๆ เพื่อเป็นความรู้เบื้องต้น



1. อิฐมอญ


อิฐที่เราพบเห็นกันเป็นประจำ มีสีแดง ส่วนใหญ่แล้วผลิตมาจากดินเหนียว มีการเผาให้ได้คงรูป แถมยังมีความแข็งแรง คงทนต่อสภาพอากาศ ทนแดด ทนฝน มักนิยมใช้กับงานผนัง มีราคาถูก มีการสะสมความร้อน ทำให้ห้องและบ้านเกิดความร้อน อากาศไม่ถ่ายเท






2. อิฐมวลเบา


อิฐมวลเบา ได้รับความนิยมอย่างมาก แถมในปัจจุบันยังมีการนำอิฐมวลเบามาก่อสร้าง โดยอิฐมวลเบาสามารถป้องกันความร้อน แถมยังมีการใช้ส่วนผสมจาก ทราย, ซีเมนต์, ยิปซั่ม เป็นต้น มีฟองอากาศ และมีรูพรุนไม่ต่อเนื่อง และที่สำคัญมีน้ำหนักเบา อิฐประเภทนี้ส่วนใหญ่ใช้สร้างผนังหลักของบ้าน หรือ ผนังคอนกรีตมวลเบา เหมาะสำหรับห้องที่ต้องการความเย็น ที่สำคัญสามารถเก็บเสียงได้เป็นอย่างดี



3. อิฐบล็อค


มีสีเทา ลักษณะเด่นคือมีรูตรงกลาง สามารถ่ายเทอากาศได้เป็นอย่างดี ไม่เกิดความร้อน มีราคาถูก หากเทียบกับอิฐชนิดอื่นๆ และที่สำคัญทำให้การก่อสร้างมีความสะดวก รวดเร็ว เพราะอิฐบล็อกมีขนาดที่ใหญ่ แต่ข้อเสียก็มีคือ สามารถเกิดโอกาสรั่วซึมได้มาก รับแรงกดได้น้อย ไม่เหมาะกับการเจาะผนผนัง


โอเค....แล้วบ้าน B-Home ใช้แบบไหนล่ะ?

คำตอบคือ ไม่ใช่ซักแบบ :D


อิฐที่เราใช้สร้างบ้าน B-Home เรียกว่าอิฐ TAN BRICK เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาลัยจุฬาฯ



อิฐ TAN BRICK นี้ถึงหน้าตาและสีจะคล้ายๆกับอิฐบล็อค แต่ไม่ใช่นะจ้ะ อิฐที่ว่านี้ผลิตจากคอนกรีตคุณภาพสูง พัฒนาขึ้นเพื่อใช้เป็นวัสดุทดแทนอิฐมอญ ใช้คอนกรีตผสมแห้ง อัดแรงขึ้นรูปโดยเครื่องจักรระบบไฮดรอลิค มีความแข็งแรงและแข็งแกร่ง มีผิวสัมผัสที่ช่วยยึดเกาะปูนฉาบได้ดี จึงช่วยลดปัญหาเรื่องการหลุดร่อน ไม่หดตัว เหมาะสำหรับสร้างบ้าน

โรงงาน และอาคารสูง






เราสามารถวัดค่าคุณสมบัติของอิฐแต่ละประเภทได้ดังนี้ (หมายเหตุ เราไม่นำอิฐบล็อคเข้ามาเปรียบเทียบเพราะไม่เหมาะกับการสร้างบ้าน เนื่องด้วยไม่สามารถรับการเจาะผนัง)

คุณสมบัติ

TAN BRICK

อิฐมอญ

อิฐมวลเบา

ความสามารถในการทนแรงอัด (กก./ตร.ซม.)

70-80

20-30

30-40

ค่าการนำความร้อน (ยิ่งน้อยยิ่งเย็น) วัตต์/เมตร.เคลวิน

0.618

1.15

0.10-0.15

อัตราการทนไฟ (ชม.)

4

1-2

4

อัตราการกันเสียง (STC)

43

35

40

อัตราการหดตัว (มม./ม.)

น้อยกว่า 0.2

1.8

0.2

ข้อมูลจากสถาบันวิจัยจุฬาลงกรณ์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง และกรมวิทยาศาสตร์


จากตารางสามารถสรุปได้ดังนี้

  1. ความสามารถในการทนแรงอัด (Compressive Strength) บ่งบอกถึงความาสามารถในการรับน้ำหนักเมื่อตั้งซ้อนกันขึ้นไปสูงๆ ในข้อนี้ TAN BRICK สามารถรับน้ำหนักได้มากที่สุด

  2. ค่าความนำความร้อน ชี้ว่าอิฐแต่ละประเภทเป็นตัวนำความร้อนได้ดีแค่ไหน ยิ่งเป็นตัวนำความร้อนที่ดีบ้านก็ยิ่งร้อน ในข้อนี้ อิฐมวลเบาทำได้ดีที่สุดเพื่อให้บ้านเย็น

  3. อัตราการทนไฟ คือเมื่อในกรณีไฟใหม้ ผนังจะสามารถทนไฟได้นานแค่ไหน ในส่วนนี้ TAN BRICK และ อิฐมวลเบาเสมอกัน

  4. อัตราการกันเสียง หรือค่า STC (Sound Transmission Class) ยิ่งเยอะจะยิ่งสามารถกันเสียงได้ดีซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับบ้าน Townhome ที่มีผนังติดกัน ในส่วนนี้ TAN BRICK สามารถทำได้ถึง 43 (มากที่สุด) และตามมาด้วย อิฐมวลเบา

  5. อัตราการหดตัว ค่านี้บ่งบอกความเป็นไปได้ที่จะทำให้กำแพงบ้านมีรอยร้าวในการก่อฉาบเนื่องจากผนังหดตัว ในข้อนี้ TAN BRICK ทำได้ดีกว่าเล็กน้อย

จากการเปรียบเทียบคุณสมบัติที่สำคัญของอิฐแต่ละประเภท B-Home จึงเลือกใช้อิฐ TAN BRICK เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยได้ประโยชน์สูงสุด



0 comments
bottom of page