1. นับจำนวนสินเชื่อที่มีปัจจุบันก่อน
รายได้ตั้งเยอะ ทำไมกู้ไม่ผ่าน?
คนส่วนใหญ่มักจะคิดถึงยอดหนี้ต่อรายได้ แต่ก่อนจะคำนวนนั้นธนาคารจะคำนวนสินเชื่อ
ที่เรามีทั้งหมดก่อนนับรวมทุกอย่างที่เป็นหนี้แล้วจึงค่อยมาคำนวนความสามารถในการชำระ
หนี้ที่เหลือหลังจากหักภาระทั้งหมดแล้ว
ตัวอย่างเช่น:
รายได้ 35,000
ผ่อนรถ 7,000
ผ่อนบัตรเครดิต 4,000
เหลือ 24,000
ธนาคารจะคำนวนความสามารถในการผ่อน จาก 24,000 ที่เหลือ
2. ยอดผ่อนต่อรายได้
เป็นที่ทราบกันดีว่าถ้ายอดผ่อนต่อเดือนเยอะ จะกู้ลำบาก แต่คำถามคือเท่าไหร่ถึงเรียกว่าเยอะ?
70 : 30 Rule
คิดคร่าวๆ เราจะต้องผ่อนประมาณ ล้านละ 7,000-8,000 บ. ดังนั้นสมมุติว่าบ้านมูลค่า 2,000,000 จะต้องผ่อนเดือนละ 14,000 แต่อย่าลืมว่าจะต้องรวมกับภาระหนี้อื่นด้วย ในกรณีที่ไม่มีหนี้อื่น คุณควรจะต้องมีรายได้ 20,000 บาทเพื่อที่การผ่อนบ้านเป็น 70% ของรายได้หลังหักภาระอื่นๆที่มี
ทั้งนี้ทั้งนั้น ธนาคารแต่ละธนาคารก็มีนโยบายแตกต่างกัน บางธนาคารอาจะให้ได้ถึง 100% ของรายได้ ขึ้นอยู่กับความสามารถในการผ่อนชำระของแต่ละบุคคล
3. เงินเก็บมีผลมาก
เงินเก็บเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่า เราเป็นคนมีวินัยทางการเงิน
ทำไมธนาคารถึงสนใจ? เพราะธนาคารต้องการแน่ใจว่าจะได้เงินกู้คืน ซึ่งการปล่อยกู้ให้คนที่ไม่มีวินัยทางการเงินนั้นเสี่ยงมาก แล้วก็ไม่ต้องกลัวไป ธนาคารไม่มีสิทธิ์เอาเงินเก็บของเราไปใช้หนี้ นอกจากเรานำเงินก้อนนี้มาค้ำประกัน
4. ยื่นรอบแรกไม่ผ่าน ขออุทธรณ์ได้
หลายคนถอดใจหลังจากที่ธนาคารแรกปฏิเสธ
แต่จริงๆแล้วการยื่นรอบแรกไม่ผ่าน พนักงานสินเชื่อควรจะบอกได้ว่าไม่ผ่านเพราะอะไร ถ้าเราหาเอกสารมาโต้แย้งกับประเด็นนั้นได้ การยื่นอุทรณ์ของเราก็จะได้รับการอนุมัติ ยกตัวอย่างเช่น กู้ไม่ผ่านพราะเหมือนว่าเป็นการลงทุน เราสามารถหาเอกสารเพิ่มเติมเพื่อยืนยันว่าบ้านนี้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยได้ หรือที่มาของรายได้ไม่ชัดเจน เราก็สามารถหาเอกสารมาเพื่อซัพพอร์ทที่มาของรายได้เพิ่มเติม
5. ทีมสินเชื่อเก่งและรู้ช่องทางคือหัวใจสำคัญ
การทำกู้ พนักงานสินเชื่อต้องทำเรื่องเพื่ออนุมัติ ซึ่งพนักงานที่มีความสามารถจะรู้ว่าต้องทำอย่างไรและต้องใช้เอกสารอะไรเพิ่มเติมจึงจะได้รับอนุมัติ รวมไปถึงเพื่อความรวดเร็วของการขอสินเชื่อ
ซึ่งที่ B-Home เรามีทีมสินเชื่อที่มีประสบการณ์มากมาย พร้อมให้คำปรึกษา รวมถึงการเลือกธนาคารที่เหมาะกับลูกค้าแต่ละราย อย่ารอช้า ลองไปยื่นกู้กันเลยย....
Kommentare